พิจารณากิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก

 ระเบียบวิธีลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ (T-VER Methodology) คือ วิธีที่ใช้ในการคำนวณการลด/กักเก็บก๊าซเรือนกระจกของโครงการ T-VER โดยแบ่งตามประเภทโครงการและขอบข่ายของกิจกรรมการลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งผู้พัฒนาโครงการต้องเลือกใช้ระเบียบวิธีฯ ให้สอดคล้องกับกิจกรรมการลดก๊าซเรือนกระจกของโครงการ โดยระเบียบวิธีฯ สามารถแบ่งออกเป็น 16 ขอบข่ายตามลักษณะของกิจกรรมการลดก๊าซเรือนกระจก ดังนี้

สาขาและขอบข่าย
01 อุตสาหกรรมด้านพลังงาน Energy industries
02 การส่งจ่ายพลังงาน Energy distribution
03 ความต้องการการใช้พลังงาน Energy demand
04 อุตสาหกรรมการผลิต Manufacturing industries
05 อุตสาหกรรมเคมี Chemical industry
06 การก่อสร้าง Construction
07 การขนส่ง Transport
08 การทำเหมืองและการผลิตแร่ Mining and mineral production
09 อุตสาหกรรมการผลิตโลหะ Metal Production 
10 การรั่วไหลของก๊าซเรือนกระจกจากเชื้อเพลิง Fugitive emissions from fuels
11 การรั่วไหลของก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิตและการใช้แฮโลคาร์บอนและซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ Fugitive emissions from production and consumption of halocarbons and sulphur hexafluoride
12 การใช้สารละลาย Solvents use
13 การจัดการและกำจัดของเสีย Waste handling and disposal
14 การปลูกป่าและการฟื้นฟูป่า Afforestation and reforestation
15 การเกษตร Agriculture
16 การดักจับและเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ใต้พื้นดิน Carbon capture and storage of CO2 in geological formations

อ้างอิงการแบ่งขอบข่ายตามประกาศคณะกรรมการการมาตรฐานแห่งชาติเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับรองระบบงานหน่วยตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบก๊าซเรือนกระจก