ภาพรวมกลไก

การใช้ประโยชน์คาร์บอนเครดิตจากโครงการ Premium T-VER

ทวนสอบโครงการ

  • โปรแกรม: Standard T-VER

กระบวนการตรวจสอบและทวนสอบจากผู้ประเมินภายนอกสำหรับโครงการภาคสมัครใจ (Validation and Verification Body: VVB) เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญในการดำเนินโครงการ Premium T-VER เพื่อตรวจสอบเงื่อนไขของโครงการให้เป็นไปตามข้อกำหนดของ อบก. และข้อมูลปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลด/กักเก็บได้มีความถูกต้องและโปร่งใส ตลอดจนเพิ่มความน่าเชื่อถือของโครงการ T-VERอบก. กำหนดให้ระดับของการรับรองในการตรวจสอบและทวนสอบ โครงการ Premium T-VER อยู่ในระดับสมเหตุสมผล (Reasonable level of assurance) และมีการประเมินข้อมูลก๊าซเรือนกระจกทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณต้อง ปราศจากความผิดพลาด การละเว้น และการบิดเบือนใดๆ ที่มีนัยสำคัญ และ อยู่ในระดับความมีสาระสำคัญที่กำหนด

“การตรวจสอบความใช้ได้ (Validation)” ของโครงการ Premium T-VER หมายถึง กระบวนการสร้างความเชื่อมั่น โดยมีการดำเนินงานในด้านต่างๆ อย่างรอบด้าน รวมถึงการรวบรวมและประเมินเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ (Objective standpoint) และมีการรายงานผลการตรวจสอบ (Validation report) ต่อคณะอนุกรรมการพิจารณาโครงการลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อขึ้นทะเบียนโครงการ Premium T-VER (Premium T-VER Registration Sub-committee) ซึ่งเป็นผู้อ่านรายงาน เพื่อตรวจสอบว่าเนื้อหาสาระที่บรรยายในเอกสารข้อเสนอโครงการ (Project Design Document: PDD) รวมถึงแผนการติดตามผล (Monitoring plan) ที่อยู่ใน PDD มีความสอดคล้องตามหลักการและข้อกำหนดที่ระบุใน “รายละเอียดของการบริหารจัดการและการขึ้นทะเบียนโครงการ/กิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย”“ระเบียบวิธีการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจสำหรับโครงการแต่ละประเภท” (Methodology) “ข้อกำหนดในการตรวจติดตามผลปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกและการรายงานผล” และเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

“การตรวจสอบโดยหน่วยงานตรวจสอบความใช้ได้” หมายถึง กระบวนการซึ่งมีองค์กรกลางเป็นผู้ดำเนินการประเมินว่าเอกสารข้อเสนอโครงการที่ส่งมานั้น มีความสอดคล้องเป็นไปตามข้อกำหนด เช่น เงื่อนไข (Eligibility criteria) ของโครงการ Premium T-VER ตามประเภทของโครงการที่ขอขึ้นทะเบียนหรือไม่ รวมถึงแผนการตรวจติดตามที่มี

“การทวนสอบ(Verification)” ของโครงการ Premium T-VER หมายถึง กระบวนการสร้างความเชื่อมั่น โดยมีการดำเนินงานในด้านต่างๆ อย่างรอบด้าน รวมถึงการรวบรวมและประเมินเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ และมีการรายงานผลการทวนสอบ (Verification report) ต่อคณะอนุกรรมการพิจารณาโครงการลดก๊าซเรือนกระจก และคณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) ซึ่งเป็นผู้อ่านรายงาน เพื่อทวนสอบว่าปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงได้ที่บรรยายไว้ในรายงานการติดตามปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก(Monitoring report) มีความสอดคล้องตามหลักการและข้อกำหนดที่ระบุใน “รายละเอียดของการบริหารจัดการและการขึ้นทะเบียนโครงการ / กิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย” “ข้อกำหนดในการติดตามผลปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกและการรายงานผล” โดยการทวนสอบนั้นจะต้องดำเนินการอย่างเป็นอิสระโดยองค์กรกลางที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้พัฒนาโครงการ

“การทวนสอบโดยหน่วยงานทวนสอบ” หมายถึง กระบวนการซึ่งมีองค์กรกลางเป็นผู้ดำเนินการทวนสอบว่าการติดตามผลและการคำนวณปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงได้และอื่นๆ ที่เกิดขึ้นจากโครงการ ซึ่งได้รับการเห็นชอบว่าเป็นไปตามเงื่อนไขและได้รับการขึ้นทะเบียนจากคณะอนุกรรมการพิจารณาโครงการลดก๊าซเรือนกระจก นั้น มีความสอดคล้องเป็นไปตามข้อกำหนดในการติดตามผล (และรายงานผลโครงการ) และอื่นๆที่อยู่ในแผนการติดตามผล

0
Shares
Image

ที่อยู่ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

120 หมู่ที่ 3 ชั้น 9 อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ
แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
Tel : 02 141 9841-47 | Fax : 02 143 8403 | E-Mail : info@tgo.or.th 

0
Shares