

ข้อมูลคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับภาพรวมของโครงการ T-VER มาตรฐาน และ T-VER มาตรฐานขั้นสูง
การพิสูจน์การดำเนินงานเพิ่มเติมจากการดำเนินงานปกติ (Additionality) มีที่มาจากแนวคิดของโครงการ CDM ที่ต้องการพิสูจน์ว่าโครงการลดก๊าซเรือนกระจกจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เอง หากขาดรายได้จากการขายคาร์บอนเครดิต และเพื่อให้ผู้ซื้อคาร์บอนเครดิตดังกล่าวมั่นใจได้ว่า รายได้ที่โครงการได้รับจากการขายคาร์เครดิตทำให้โครงการลดก๊าซเรือนกระจกสามารถเกิดขึ้นได้ (Feasible)
โครงการลดก๊าซเรือนกระจกที่เป็นโครงการขนาดใหญ่ที่ไม่เข้าข่าย Positive List ต้องผ่านการพิสูจน์การดำเนินงานเพิ่มเติมจากการดำเนินงานปกติ (Additionality) โดยการประเมินระยะเวลาคืนทุน (Payback Period) ซึ่งต้องมีระยะเวลาคืนทุนของโครงการมากกว่า 3 ปี
คือ โครงการคาร์บอนเครดิตของประเทศไทย หรือมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program) หรือ เรียกย่อๆ ว่า โครงการ T-VER
คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลด/กักเก็บคำนวณได้จากการดำเนิน โครงการ T-VER และได้รับการรับรองจาก อบก. มีหน่วยเป็น “ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2eq)” สามารถนำไปใช้ชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือ ซื้อ-ขาย ในตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจได้
กิจกรรมที่สามารถเข้าร่วมการดำเนินโครงการ T-VER มีรายละเอียดนี้
1. พลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานที่ใช้ทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล
2. การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าและการผลิตความร้อน
3. การใช้ระบบขนส่งสาธารณะ
4. การใช้ยานพาหนะไฟฟ้า
5. การเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องยนต์
6. การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคารและโรงงาน และในครัวเรือน
7. การปรับเปลี่ยนสารทำความเย็นธรรมชาติ
8. การใช้วัสดุทดแทนปูนเม็ด
9. การจัดการขยะมูลฝอย
10. การจัดการน้ำเสียชุมชน
11. การนำก๊าซมีเทนกลับมาใช้ประโยชน์
12. การจัดการน้ำเสียอุตสาหกรรม
13. การลด ดูดซับ และการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกจากภาคป่าไม้และการเกษตร
14. การดักจับ กักเก็บ และ/หรือ การใช้ประโยชน์จากก๊าซเรือนกระจก
15. โครงการประเภทอื่นๆ ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการ อบก. จะกำหนดเพิ่มเติม โดยมรเหตุผลทางหลักวิชาการสนับสนุน
ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาโครงการ
ผู้พัฒนาโครงการ คือ บุคคล กลุ่มบุคคล คณะบุคคล หรือนิติบุคคล ที่จดทะเบียนในประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการตามขั้นตอนการพัฒนาโครงการ T-VER เช่น จัดทำเอกสารประกอบการขอขึ้นทะเบียนโครงการ จัดทำเอกสารประกอบการขอรับรองคาร์บอนเครดิต เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้พัฒนาโครงการอาจเป็นเจ้าของโครงการด้วยก็ได้
เจ้าของโครงการ คือ บุคคล หรือนิติบุคคล ที่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของโครงการ เช่น โรงงาน เครื่องจักร ที่ดิน เป็นต้น ซึ่งจะเป็นผู้ที่มีกรรมสิทธิ์ในคาร์บอนเครดิต ทั้งนี้ กรณีผู้พัฒนาโครงการกับเจ้าของโครงการเป็นคนละรายกัน สามารถทำสัญญาตกลงกรรมสิทธิ์ในคาร์บอนเครดิตกับผู้พัฒนาโครงการได้
ผู้พัฒนาโครงการ และเจ้าของโครงการ สามารถเป็นคนละรายกันได้หรือไม่ โดยผู้พัฒนาโครงการจะต้องได้รับสิทธิ์/ความยินยอมจากเจ้าของโครงการให้ดำเนินโครงการ T-VER และทั้งสองฝ่ายสามารถทำสัญญาแบ่งปันคาร์บอนเครดิตกันได้
รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้จาก ระเบียบวิธีการคำนวณที่ อบก. ประกาศในเวปไซต์
โครงการ Standard T-VER ที่ต้องพิสูจน์ Additionality คือ โครงการขนาดใหญ่ที่ไม่เข้าข่าย Positive List ตามที่ อบก. กำหนด โดยการประเมินระยะเวลาคืนทุน (Payback Period) ต้องมีระยะเวลาคืนทุนของโครงการมากกว่า 3 ปี จึงจะสามารถพัฒนาเป็นโครงการ T-VER ได้
สามารถดำเนินโครงการ T-VER ที่มีที่ตั้งหลายแห่งได้ โดยสามารถขึ้นทะเบียนเป็นโครงการแบบควบรวม หรือแบบแผนงาน ตามรูปแบบการพัฒนาโครงการที่ อบก. กำหนด
พื้นที่ขั้นต่ำจำนวน 10 ไร่ โดยสามารถรวมหลายพื้นที่เข้าด้วยกันได้
ค่าใช้จ่ายหลักมี 2 ส่วน คือ
1. ค่าตรวจสอบความใช้ได้ และ/หรือค่าทวนสอบเพื่อขอรับรองคาร์บอนเครดิตที่จ่ายให้กับ VVB
2. ค่าธรรมเนียมในการดำเนินงานของ อบก.
คือ ผู้ประเมินภายนอกสำหรับโครงการภาคสมัครใจ (Validation and Verification Body: VVB) ต้องเป็นนิติบุคคลที่ได้รับการรับรองระบบงานจาก สมอ. และต้องได้รับการขึ้นทะเบียนจากคณะกรรมการ อบก. ให้เป็นผู้ประเมินภายนอกสำหรับโครงการภาคสมัครใจตามระเบียบที่คณะกรรมการ อบก. กำหนด
1. การซื้อขายแบบตกลงกันระหว่างผู้ซื้อ-ผู้ขาย (Over the counter: OTC)
2. การซื้อขายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ของสภาอุตสาหกรรม (FTIX)* อยู่ในระหว่างการปับปรุง
การพัฒนาโครงการ T-VER อ้างอิงมาตรฐาน ISO 14064-2: 2019 และมีการตรวจสอบความใช้ได้ และทวนสอบโดยผู้ประเมินภายนอกสำหรับโครงการภาคสมัครใจ (Validation and Verification Body:VVB) ซึ่งดำเนินการตามมาตรฐาน ISO 14064-3: 2019 ซึ่งเป็นมาตฐานที่สากลให้การยอมรับ
คาร์บอนเครดิตไม่มีราคากลาง ราคาการซื้อ-ขายคาร์ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้ซื้อและผู้ขายที่จะสามารถเจรจาตกลงตกลงกันได้
- กรณีที่ขายให้กับบริษัทต่างประเทศที่นำไปใช้ในการชดเชยคาร์บอนภาคสมัครใจสามารถดำเนินการได้
- กรณีที่ต้องการใช้คาร์บอนเครดิตเพื่อวัตถุประสงค์ระหว่างประเทศ ต้องได้รับ “หนังสืออนุญาตการใช้คาร์บอนเครดิตเพื่อวัตถุประสงค์ระหว่างต่างประเทศ (Letter of Authorization)” จากสำนักงานนโนบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก่อน โดยดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://climate.onep.go.th/
คาร์บอนเครดิตที่ผ่านการรับรองโดยคณะกรรมการ อบก. แล้ว จะไม่มีวันหมดอายุ
ขอรับรอง REC ได้ แต่ช่วงเวลาที่ขอการรับรองจะต้องไม่ซ้ำกับช่วงเวลาที่ขอการรับรองคาร์บอนเครดิต (ห้ามนับซ้ำ)
120 หมู่ที่ 3 ชั้น 9 อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ
แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
Tel : 02 141 9841-9
Fax : 02 143 8404
E-Mail : info@tgo.or.th
E-Mail : saraban_tgo@tgo.or.th