Standard T-VER
การตรวจสอบความถูกต้องของโครงการ โดยบุคคลที่สาม หรือเรียกว่าผู้ประเมินภายนอกที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจาก อบก. ก่อนส่งเอกสารเพื่อให้ อบก. พิจารณา
เมื่อ อบก. ได้รับครบถ้วน ถูกต้องแล้ว อบก. ใช้เวลา 60 วันทำการ ในการพิจารณา
กำหนดระยะเวลาคิดเครดิตหรืออายุโครงการตามรูปแบบการพัฒนาโครงการ และตามประเภทของกิจกรรมโครงการ ดังนี้
ประเภทโครงการ
ระยะเวลาคิดเครดิตของโครงการเดี่ยวและโครงการแบบควบรวม และกลุ่มโครงการย่อยภายใต้โครงการแบบแผนงาน (ปี)
อายุของกรอบแผนงาน
(ปี)
โครงการประเภทที่ 1-12, 14
7
(ต่ออายุได้ 1 ครั้ง)
14
โครงการประเภทที่ 13
(เฉพาะโครงการภาคเกษตร)
7
(ต่ออายุได้ครั้งละ 7 ปี ไม่จำกัดจำนวนครั้ง)
14
โครงการประเภทที่ 13
10
(ต่ออายุได้ครั้งละ 10 ปี ไม่จำกัดจำนวนครั้ง)
เว้นกรณีที่ระเบียบวิธีลดก๊าซเรือนกระจกกำหนดระยะเวลาคิดเครดิตไว้ ให้ใช้ตามที่ระเบียบวิธีฯ กำหนด
20
ไม่จำเป็นต้องขอทุกปี ผู้พัฒนาโครงการสามารถขอรับรองคาร์บอนเครดิตได้ตามความต้องการตลอดระยะเวลาคิดเครดิตของโครงการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการใช้ประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต หรือ ความคุ้มค่าของการดำเนินงานเพื่อขอรับรองคาร์บอนเครดิตในแต่ละครั้ง ซึ่งผู้พัฒนาโครงการเป็นผู้ตัดสินใจ
ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดหรือกักเก็บได้เมื่อเปรียบเทียบกับกรณีฐาน ประเมินโดยใช้ระเบียบวิธีที่ อบก. กำหนด
กรณีฐาน (Baseline) คือ ปริมาณการปล่อยหรือกักเก็บก๊าซเรือนกระจกก่อนดำเนินโครงการลด หรือ ก่อนการเข้าร่วมโครงการ
ผู้พัฒนาโครงการสามารถเสนอระเบียบวิธีการคำนวณไปยัง อบก. เพื่อพิจารณาเห็นชอบ และประกาศใช้
ไม้ยืนต้น (Tree) ที่มีเนื้อไม้ มีอายุยืนยาวหลายปี สืบค้นได้จาก https://www.dnp.go.th/botany/dictindex.html ที่ระบุในรายละเอียดว่าเป็น ไม้ยืนต้น หรือ ไม้ต้น
ได้ โดยต้องมีการประเมินการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่เพื่อใช้กำหนดเป็นค่ากรณีฐาน ณ วันขึ้นทะเบียน และคาร์บอนเครดิตที่จะได้รับคือปริมาณการกักเก็บที่เพิ่มพูนจากกรณีฐานเท่านั้น
ได้ โดยผู้พัฒนาโครงการต้องเสนอเทคโนโลยีดังกล่าวให้ อบก. เพื่อพิจารณาเห็นชอบ และประกาศใช้ก่อนจึงจะสามารถนำไปใช้ได้
ได้ โดยใช้ระเบียบวิธีการคำนวณสำหรับโครงการภาคเกษตร
ได้ แต่ต้องเป็นการดำเนินงานภายใต้ขอบเขตโครงการ และเป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องกัน เช่น การรวบรวมก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียเพื่อผลิตไฟฟ้า